Home » ทำไมเลือกทรงปากกระจับเหมือนกัน แต่ออกมาดันไม่เหมือนกัน?

ทำไมเลือกทรงปากกระจับเหมือนกัน แต่ออกมาดันไม่เหมือนกัน?

IMG 5055

หนึ่งในปัญหาชวนหนักใจของคนไข้หลายๆ คน คือการที่ได้เลือกทรงปากกระจับตามไอดอลหรือดาราสวยๆ แต่เมื่อทำออกมาแล้วดันดูไม่เหมือนเลย หรือแม้แต่พอผ่านไปสัก 3 เดือนกลับมีความรู้สึกว่าดูแปลกตากว่าวันทำใหม่ๆ ดังนั้นเราจะพาทุกคนมาตอบคำถามว่าทำไมเลือกทรงนี้แล้วผลลัพธ์ถึงแตกต่างกันและปากคลายทรงไม่เหมือนกันคืออะไร มาหาคำตอบพร้อมกันเลย

สำหรับใครที่มีประสบการณ์จับมือกับเพื่อนไปทำปากกระจับ แม้จะเลือกทรงเดียวกัน แต่ผลลัพธ์ดันออกมาไม่เหมือนกัน นั่นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ “ปากกระจับคลายตัว” 

ปากกระจับคลายตัว คืออะไร?

ปากกระจับคลายตัวหลังผ่าตัดถือว่าเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ในทุกเคส เนื่องจากหลังการผ่าตัดทำปากกระจับไปแล้วนั้น ร่างกายจะรู้ว่าเนื้อเยื่อบริเวณปากบางส่วนได้หายไป จึงพยายามรักษาสมดุลร่างกายด้วยการฟื้นฟูให้ปากกลับมามีทรงเดิมมากที่สุด ซึ่งต้องอธิบายก่อนว่าหลังจากผ่าตัดแล้ว ทรงปากที่ได้จะไม่ใช่ทรงปากจริงๆ แต่หลังจากที่มีการตัดไหมไปช่วงเวลาหนึ่ง ปากจะมีการคลายตัวลงและเป็นรูปทรงปากที่จะได้นั่นเอง ดังนั้นก่อนที่จะทำการผ่าตัด คุณหมอมักจะมีการประเมินและออกแบบปากกระจับเผื่อการคลายตัวของแต่ละรูปปากด้วย เพื่อให้ปากกระจับของคนไข้ออกมาสวยและได้รูป 

ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าปากกระจับจะเข้าที่?

สามารถแบ่งระยะเวลาได้เป็น 4 ช่วง คือ หลังจากทำเสร็จทันที เนื้อปากจะมีความบางสุด ปลายกระจับจะชัดแหลมสุด ในช่วงที่สองหลังจากตัดไหมปากจะหนาขึ้นบางส่วนจากการบวมประมาณ 10 วัน ในช่วงที่สามหลังจากทำครบ 1 เดือนเมื่อปากยุบเข้าที่จะเห็นทรงชัดเจนมากขึ้น และในช่วงที่สี่ถือเป็นช่วงที่ปากกระจับจะเข้าที่ที่สุด ปากกระจับจะโค้งสวยเป็นธรรมชาติ

ทำไมปากกระจับถึงคลายตัวต่างกัน?

  1. ลักษณะรูปปากที่แตกต่างกัน 

เนื่องจากตอนแพทย์ที่ประเมินเคสจะทำการวิเคราะห์เนื้อปากก่อนและพิจารณาว่าลักษณะแบบไหนที่จะส่งผลให้ปากกระจับคลายตัว ซึ่งคนไข้ที่มีปากเหี่ยวย่น มีรอยยู่ สักปากมา จะมีโอกาสที่ปากกระจับจะคลายตัวได้มากกว่าคนที่ปากตึงหรือปากอิ่ม เนื้อแน่น

  1. อายุที่เยอะขึ้น

สำหรับกลุ่มคนไข้ที่เริ่มมีอายุมากขึ้น ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป หลังทำปากกระจับไปแล้วจะมีโอกาสที่ปากกระจับคลายตัวได้ง่ายขึ้นกว่าคนที่มีอายุน้อย เนื่องจากการผลิตคอลลาเจนใต้ผิวหนังลดน้อยลง ทำให้ริมฝีปากไม่ตึง หลังจากทำไปได้สักพักปากกระจับก็จะมีการคลายและหดตัวได้

  1. การดูแลตัวเองหลังผ่า 

หากมีการดูแลตัวเองตามที่แพทย์แนะนำ ได้แก่ การทานยาตามที่แพทย์สั่ง การประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม การหมั่นทำความสะอาดบริเวณริมฝีปากและช่องปาก งดอาหารหมักดอง ของสดไม่สะอาด งดบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหมั่นนวดริมฝีปาก โดยเมื่อดูแลตามวิธีนี้จะช่วยลดโอกาสเกิดไตที่บริเวณปาก ทำให้การดึงรั้งน้อยลง และลดโอกาสที่ปากกระจับจะคลายตัวได้

  1. การนวดปากอย่างสม่ำเสมอ

การนวดปาก ถือเป็นวิธีที่ลดการคลายตัวหลังทำปากกระจับได้ดีที่สุด ลดการเกิดแผลเป็นตึงรั้ง แถมยังช่วยให้ปากเข้ารูปได้เร็ว ดูเป็นธรรมชาติ ซึ่งควรนวดปากอย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง ใช้เวลาครั้งละ 5-10 นาที ติดต่อกัน 2 เดือนขั้นต่ำ ร่วมกับการทายาป้องกันการเกิดแผลเป็น การบำรุงริมฝีปากให้ชุ่มชื้น จะช่วยป้องกันและลดโอกาสแผลตึงรั้งปากกระจับคลายได้

  1. เทคนิคของแพทย์แต่ละคน 

ตั้งแต่การเลือกทรงปากกระจับ เทคนิคการตัดแต่งเนื้อปาก การเย็บแผล การตัดไหม ทั้งหมดส่งผลให้ปากกระจับคลายตัวไม่เหมือนกัน เพราะหากแพทย์ขาดความชำนาญในการทำปากกระจับ ใช้ความร้อนระดับสูงในการห้ามเลือดระหว่างผ่าตัด เมื่อผ่าตัดไปแล้วอาจทำให้แผลแข็งเป็นไต ก็จะทำให้แผลรั้ง แผลเป็นหนาขึ้น และปากคลายทรงได้ ไม่เหมือนกับแผนที่วางไว้ได้

ทำปากกระจับ นึกถึง Dr. Apple Clinic

สนใจผ่าตัดปากกระจับกับเราติดต่อ:

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ:

Tel: 088-399-4051

LINE: @dr.apple789

IG: dr.apple_thailand

Facebook: ปากกระจับ เสริมจมูก ตัดปีก หมอเปิ้ล

#drapple #lipreduction #nosewingreduction #หมอเปิ้ล #ปากกระจับ #ตัดปีกจมูก #ฉีดสารเติมเต็มปาก #upperliplift #liplifting #ยกริมฝีปากบน #lateralliplift #lip#surgery#lipreduction#lipsurgery#lipplasty#smilelip#lipaugmentation#lipfiller#alarreduction#alarplasty#nosewingreduction#drapple#drappleclinic#drapplethailand#bangkok#thailand#หมอเปิ้ล#ปากบาง#ปากกระจับ#ปากสวย#ตกแต่งริมฝีปาก#ปากหนา#ปากห้อย#ตัดปีกจมูก#ปีกกว้าง#ปีกบาน

*ผลลัพธ์การรักษา ขึ้นอยู่กับเฉพาะบุคคลเท่านั้น 

*ภาพถ่ายใช้เป็นตัวอย่างผลจากการเข้ารับการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย 

*รีวิวนี้ได้รับการยินยอมให้เผยแพร่จากผู้เข้ารับบริการ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *